รีวิว แนะนำ แหล่งท่องเที่ยวเชียงราย และกิจกรรมต่างๆ สถานที่สำคัญของเชียงราย ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์ของแต่ละจังหวัด แล้วท่านจะรู้ที่มาที่ไปของแต่ละชื่อแต่ละเมือง เช่น แม่สาย เชียงแสน ดอยตุง ดอยช้าง ภูชี้ฟ้า สามเหลี่ยมทองคำ กษัตริย์ล้านนา

Custom Search

ประวัติความเป็นมาของอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย 1

ประวัติอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย 






วันนี้ขอนำเอา ประวัติอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย มากล่าวถึงกันบ้าน โดยอาศัย คลิปวีดีโอ จากนักเรียนที่ได้ทำไว้ให้เราชม ซึ่งก็น่าติดตามอยู่เหมือนกัน เป็นการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ที่ไม่ทำให้เบื่ออีกต่อไป

เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วเรามักจะมองหรือกล่าวถึงสถานที่หรือความเป็นมาเฉพาะตัวจังหวัด หรือเขตสำคัญทางเศรษฐกิจของแต่ละจังหวัด มักจะละเลย เขตอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในความสนใจมากนัก อำเภอเวียงป่าเป้า ก็เช่นกัน แต่ก่อนนั้นเป็นเพียงเมืองผ่านของผู้ที่เดินทางไกล จึงหาแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นมา หรือ ประวัติ ของอำเภอนี้จากทางอินเทอร์เนตได้น้อยมาก ด้วยเห็นความสำคัญของเรื่องประวัติศาสตร์ของจังหวัดเชียงราย จึงขอนำเอาเรื่องของประวัติความเป็นมา ของอำเภอเวียงป่าเป้า มาลงไว้ ทั้งนี้รวมถึง เวียงกาหลง ซึ่งอดีตก็เป็นเมืองสำคัญไม่น้อยเช่นกัน เพื่อเป็นอีกแหล่งหนึ่งในการศึกษาและอ้างอิงต่อไป

ความเป็นมาของอำเภอเวียงป่าเป้า 

อำเภอเวียงป่าเป้า ในสมัยโบราณกาลมีชื่อว่า “เวียงกาหลง” สันนิษฐานว่า ได้สร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 5 (พ.ศ. 500 – 599) ซึ่งปรากฏตามหลักฐานในหนังสือพงศาวดารชาติไทย เล่ม 2 ของพระบริหารเทพธานี ได้กล่าวถึงแว่นแคว้นยวนเชียง (หน้า 4 บรรทัดที่ 2-6) ว่า

เมื่อภายหลัง พ.ศ. 590 ว่านแคว้นยวนเชียงนี้เป็นเมืองส่วยของประเทศอ้ายลาว ผู้ชายคิดเป็นเกลือกับเสื้อ คนละ 2 เสื้อ แล้วแว่นแคว้นยวนเชียงก็แยกตั้งบ้านเมืองออกไปทางทิศตะวันออกอีกหลายเมือง เช่น เวียงกาหลง (เวียงป่าเป้า) เวียงฮ่อ ดงเวียง เมืองวัง (วังเหนือ) แจ้ห่ม เป็นต้น และในหนังสือประวัติศาสตร์เมืองเชียงราย ซึ่งจัดพิมพ์ในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ (หน้า 13) ก็ปรากฏความที่คล้ายกัน คือ ในรวมพุทธศตวรรษที่ 5 มีพวกไทยถอยร่นจากตอนใต้ประเทศจีนปัจจุบัน มาสมทบกับพวกไทยที่เมืองเชียงลาวเพิ่มขึ้นมากทุกที จึงขยายเมืองให้กว้างขวางออกไปอีก เรียกว่า แคว้นชุนยาง หรือ ยวนเชียง มีอาณาเขตแผ่ไปถึงหลายเมือง เช่น เวียงกาหลง (เวียงป่าเป้า) เวียงฮ่อ ดงเวียง เมืองวัง (วังเหนือ) และเชียงแสน ทั้งนี้ภายหลัง พ.ศ. 590 เป็นต้นมา

จากหลักฐานดังกล่าว เวียงกาหลง หรือ อำเภอเวียงป่าเป้า ในปัจจุบัน ได้ก่อตั้งเป็นเมืองมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 5 แต่คงเนื่องด้วยเป็นเมืองเล็กเมืองน้อย และไม่มีเหตุการณ์หรือบุคคลสำคัญที่เป็นจุดเด่น จึงมิได้ปรากฏในตำนานหรือพงศาวดาร

ต่อมาระยะกาลเวลาประมาณหนึ่งร้อยปีมานี้เอง อำเภอเวียงป่าเป้ามีฐานเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ และเป็นที่พักสำหรับผู้เดินทางค้าขายระหว่างเชียงราย-เชียงใหม่-ลำพูน ต่อมาชุมชนหนาแน่นขึ้น เจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ จึงได้มอบหมายให้พระยาไชยวงศ์ควยคุมราษฎรชาวนครเชียงใหม่ ขึ้นมาหักล้างถางพงพื้นที่ ซึ่งเป็นที่รกร้องว่างเปล่า ณ บริเวณที่มีชื่อว่า “ป่าเฟยไฮ” (ป่าไทร) ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของที่ว่าการอำเภอปัจจุบัน (ระยะทางประมาณ 4 กม.) แล้วสร้างเป็นเมืองขึ้นใหม่ขนานนามเมืองนี้ว่า “เมืองเฟยไฮ” ตามลักษณะภูมิประเทศเดิมและได้แต่งตั้งให้ พระยาไชยวงศ์ดำรงตำแหน่งพ่อเมืองปกครองเมืองนี้

ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2430 พระยาไชยวงศ์ พบว่าทางทิศเหนือมีสถานที่เหมาะที่จะสร้างเมือง จึงได้ให้ราษฎรขึ้นไปแผ้วถางป่าซึ่งเป็นป่า “ไม้เป้า” (ต้นเปล้า) และได้ก่อสร้างเป็นเมืองใหม่แล้วขนานนามตามชื่อป่าว่า “เมืองป่าเป้า” ในปีพ.ศ.2440 พระยาไชยวงศ์ถึงแก่อนิจกรรม พระยาเทพณรงค์ ผู้เป็นบุตรเขยได้รับแต่งตั้งให้เป็นพ่อเมืองทำการปกครองแทน และได้ปรับปรุงเมืองป่าเป้าให้มีสภาพมั่นคงถาวรยิ่งขึ้น โดยใช้อิฐก่อกำแพงเมืองและได้เปลี่ยนนามเมืองเสียใหม่ เพื่อให้ถูกต้องตามลักษณะ หรือ ที่มาของเมืองว่า “เวียงป่าเป้า” ต่อมาพระยาเทพณรงค์ถึงแก่อนิจกรรม พระยาขันธเสมา ซึ่งเป็นน้องเขยจึงได้รับแต่งตั้งให้ครอบครองเมืองสืบมา

ประมาณปี พ.ศ. 2446 พวกเงี้ยว (ชาวไทยใหญ่) ได้ก่อจลาจลขึ้นที่จังหวัดเชียงราย ได้มีการจัดกองทัพจากจังหวัดลำปางและเชียงใหม่ ขึ้นไปปราบปรามผู้ก่อจลาจล เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ ทางราชการได้จัดตั้งจุดที่ชุมนุมพลให้เป็นอำเภอขึ้น ณ บ้านแม่พริก (ปัจจุบันอยู่ในเขตปกครองอำเภอแม่สรวย) บนฝั่งน้ำลาวว่า “อำเภอแม่พริก” และตั้ง “เวียงป่าเป้า” เป็นกิ่งอำเภอ 

ที่ว่าการอำเภอ : ปัจจุบัน

สำหรับที่ว่าการอำเภอเวียงป่าเป้า ตั้งแต่ได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ ได้ทำการก่อสร้างอาคารที่ว่าการหลังแรกเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว อาศัยเป็นที่ปฏิบัติราชการตลอดมา ประมาณปี พ.ศ. 2475 อาคารที่ว่าการอำเภอชำรุดมาก ขุนบวรอุทัยธวัช ซึ่งเป็นนายอำเภอขณะนั้น ได้ทำการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นตึก 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูน แต่พอเริ่มดำเนินการก่อสร้างไปเพียงเล็กน้อย ขุนบวรอุทัยธวัชได้ประสบอุบัติเหตุตกม้าถึงแก่ชีวิต ขุนพิพิธสุขอำนวย นายอำเภอคนต่อมาจึงได้ดำเนินการก่อนสร้างต่อ


ประวัติความเป็นมาของอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย 2

1 ความคิดเห็น: